ปัสสาวะบ่อย ฉี่บ่อย เกิดจากโรคอะไรได้บ้าง??

สมุนไพรแก้ปัสสาวะบ่อย,สมุนไพรแก้ปัสสาวะบ่อยกลางคืน,แก้ฉี่บ่อย,แก้อาการปัสสาวะบ่อย

ปัสสาวะบ่อย ฉี่บ่อย เกิดจากโรคอะไรได้บ้าง??

"ฉี่บ่อยมาก จะเป็นโรคอะไรมั้ย??"

"ดื่มน้ำไม่เยอะ แต่ฉี่บ่อย เกิดจากอะไร??"

"ฉี่เล็ด กลั้นฉี่ไม่อยู่ จะอันตรายมั้ย??"

"ฉี่บ่อยมีโอกาสเป็นโรคไตได้มั้ย??"

อย่ามัวรอให้เกิดโรคร้าย มาดูแลสุขภาพร่างกาย ตั้งแต่วันนี้ ด้วยยาน้ำสมุนไพรธนทร

ปรึกษาปัญหาสุขภาพฟรี และรับส่วนลด 30% ผ่านทาง Line@ คลิกเลย

Hotline โทร 095-8453520 สายสุขภาพ เบอร์เดียวจบทุกปัญหาสุขภาพ

ปัสสาวะบ่อย อาการที่หลายคนพบเจออยู่ แต่ว่าทำไมมันถึงเกิดขึ้น??แล้วปัสสาวะบ่อย บ่งบอกถึงโรคร้ายอะไรบ้างที่ซ่อนอยู่ในร่างกายเรา เรามาดูกัน…

อาการปัสสาวะบ่อย หมายถึงการที่ร่างกายปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ มันสามารถทำลายกิจวัตรประจำวันของคนๆ นึง และสร้างความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันได้ และที่สำคัญ ร่างกายของเรากำลังบอกว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกายของเรา

หลายคนมีอาการปัสสาวะบ่อย และมีความผิดปกติถ้าปัสสาวะมากกว่า 3 ลิตรต่อวัน การปัสสาวะบ่อย บ่งบอกถึงสัญญาณอันตรายในร่างกายเรา ทำให้เราทราบถึงโรคร้ายต่างๆ รวมถึงวิธีการป้องกันโรคต่างๆ เหล่านั้นให้ทันท่วงที

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการปัสสาวะบ่อย

นี่คือข้อเท็จจริงบางประการเกี่ยวกับอาการปัสสาวะบ่อย รายละเอียดเพิ่มเติมมากกว่านี้อยู่ในบทความต่อไป

  • อาการปัสสาวะบ่อยไม่เหมือนกับอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • คนปกติทั่วไปปัสสาวะ 6-7 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมง การปัสสาวะบ่อยมากกว่านี้จะเรียกได้ว่าเป็นอาการปัสสาวะบ่อย
  • การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ แก้ไขได้ด้วยการบริหารกล้ามเนื้อหูรูดกระเพาะปัสสาวะ แต่อาการปัสสาวะบ่อยที่เกิดจากโรค เช่น เบาหวาน ต้องแก้ไขด้วยการรักษาโรคให้หายก่อน

อาการปัสสาวะบ่อย คืออะไร??

สมุนไพรแก้ปัสสาวะบ่อย,สมุนไพรแก้ปัสสาวะบ่อยกลางคืน,สมุนไพรแก้ฉี่บ่อย

การปัสสาวะเป็นวิธีกำจัดของเสียออกจากร่างกายในรูปแบบของเหลว ปัสสาวะมีส่วนผสมของ กรดยูริค, ยูเรีย สารพิษอื่นๆ และของเสียที่ถูกกรองออกจากร่างกาย โดยมีไตเป็นอวัยวะสำคัญในการทำหน้าที่นี้

น้ำปัสสาวะจะอยู่ในกระเพาะปัสสาวะจนกว่าจะเต็ม เมื่อถึงจุดนึงจะถูกกระตุ้นให้ร่างกายขับปัสสาวะออกมา

อาการปัสสาวะบ่อยไม่เหมือนกับอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ โดยที่อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เกิดจากการควบคุมกระเพาะปัสสาวะที่ไม่มีประสิทธิภาพ อาการปัสสาวะบ่อยหมายถึงการที่คุณต้องเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้นอาจจะเกิดคู่กับอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ก็ได้ แต่ก็ไม่เสมอไป

คนส่วนใหญ่ปัสสาวะประมาณ 6-7 ครั้งต่อวัน

อาการปัสสาวะบ่อยส่วนใหญ่จะปัสสาวะมากกว่า 7 ครั้งต่อวัน ในขณะที่ดื่มน้ำประมาณ 2 ลิตรต่อวัน

อย่างไรก็ตาม อาการก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล คนส่วนใหญ่ก็จะไปพบแพทย์ก็ต่อเมื่อการปัสสาวะบ่อยขึ้น จนพวกเขารู้สึกรำคาญ ในรายที่เป็นเด็กเล็ก พวกเค้าจะมีกระเพาะปัสสาวะที่เล็กกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้นเป็นเรื่องปกติที่เด็กๆ จะปัสสาวะบ่อย

สาเหตุที่เป็นไปได้

การปัสสาวะเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนของร่างกาย เกี่ยวพันกับหลายอวัยวะ ปัจจัยบางอย่างก็กระตุ้นให้การปัสสาวะมากขึ้นด้วย

ในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การดื่มน้ำเป็นปริมาณมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอลล์ผสม ในตอนกลางคืนมันจะไปรบกวนเวลานอนหลับ ด้วยการต้องตื่นไปปัสสาวะตอนกลางคืน และถ้าเป็นบ่อยๆ ก็จะทำให้ติดเป็นนิสัยได้

อย่างไรก็ตามการปัสสาวะบ่อยก็เป็นสัญญาณบอกให้รู้ว่าอวัยวะเช่นไต, ท่อปัสสาวะ, กระเพาะปัสสาวะกำลังมีปัญหา หรือมีปัญหามาจากโรคอื่นๆ เช่น  เบาหวาน การตั้งครรภ์, หรือปัญหาจากต่อมลูกหมากก็ได้

สาเหตุอื่นๆ หรือปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ที่ทำให้ปัสสาวะบ่อย ได้แก่

  • ความวิตกกังวล
  • จากยาบางขนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ
  • โรคหลอดเลือดสมอง หรือ ระบบประสาทอื่นๆ
  • ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • เนื้องอกบริเวณอุ้งเชิงกราน
  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  • กระเพาะปัสสาวะบีบรัดตัวไวกว่าปกติ
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • นิ่วในไต
  • อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • ท่อปัสสาวะตีบ
  • รังสีจากการรักษามะเร็ง
  • โรคหลอดเลือดแดงทวารหนักโป่งพอง
  • โรคหนองในเทียม

อาการ

อาการปัสสาวะบ่อยเป็นเหตุทำให้ปัสสาวะถี่ขึ้น และเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคร้ายที่กำลังคุกคามสุขภาพของคุณอยู่ด้วย

เช่น คนที่ต้องตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยๆ ก็อาจเป็นสัญญาณของ โรคเบาหวาน

อาการอื่นๆ ที่คุณต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ ได้แก่

  • มีอาการปวดในขณะที่ปัสสาวะ
  • ปัสสาวะมีเลือดปนหรือมีสีที่ผิดปกติ
  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • ปัสสาวะขัด ปัสสาวะไม่สุด
  • ปัสสาวะเล็ดโดยไม่ตั้งใจ
  • กระหายน้ำมากขึ้น หรือหิวมากขึ้น
  • มีไข้หรือหนาวสั่น
  • คลื่นไส้หรืออาเจียน
  • ปวดหลัง ปวดเอว ปวดสีข้าง หรือบริเวณข้างเคียง

หากมีอาการอื่นๆ หรือถ้าอาการปัสสาวะบ่อยเริ่มรบกวนสุขภาพ และการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ ควรปรึกษาแพทย์ หรือ ใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อลดอาการปัสสาวะบ่อย

การปัสสาวะบ่อย อาจบ่งบอกถึงการติดเชื้อในไต และถ้าไม่ได้รับการรักษา หรือฟื้นฟู อาจทำให้ไตเสียหายอย่างถาวรได้ นอกจากนี้การติดเชื้อจากเชื้อแบคทีเรีย อาจเข้าสู่กระแสเลือดและติดเชื้อในบริเวณอื่นๆ ของร่างกายได้ ต้องรีบได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพราะเป็นอันตรายถึงชีวิต

ปรึกษาปัญหาสุขภาพฟรี และรับส่วนลด 30% ผ่านทาง Line@ คลิกเลย
Hotline โทร 095-8453520 สายสุขภาพ เบอร์เดียวจบทุกปัญหาสุขภาพ

การวินิจฉัยโรค

แพทย์จะทำการถามคำถาม ตรวจร่างกายอย่างละเอียด และถามความถี่ของการปัสสาวะ และอาการอื่นๆ

คำถามที่แพทย์จะถาม เช่น

  • รูปแบบของการปัสสาวะ การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และเวลาในการปัสสาวะ
  • ยาที่กินอยู่ในปัจจุบัน
  • ปริมาณน้ำที่ดื่มในแต่ละวัน
  • สี, กลื่น, ความสม่ำเสมอในการปัสสาวะ
  • ปริมาณคาเฟอีน หรือแอลกอออลล์ ที่ดื่มเข้าไปในเร็วๆ นี้

การตรวจหรือทดสอบเพิ่มเติม เช่น

  • การตรวจน้ำปัสสาวะ เพื่อหาความผิดปกติอื่นๆ
  • อัลตร้าซาวด์ไต เพื่อดูการทำงานของไต
  • ทำการเอ็กซเรย์ หรือทำ CT Scan บริเวณอุ้งเชิงกรานและช่องท้อง
  • ตรวจระบบประสาท เพื่อหาความผิดปกติของระบบประสาท
  • ทดสอบ STIs

หลังจากนั้นอาจจะถูกส่งตัวไปหาผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินปัสสาวะ ในกรณีผู้หญิง อาจถูกส่งไปหานรีแพทย์

การทดสอบ Urodynamic

การทดสอบ Urodynamic คือการทดสอบประสิทธิภาพของกระเพาะปัสสาวะในการจัดเก็บและการปล่อยปัสสาวะ และตรวจสอบระบบการทำงานของท่อปัสสาวะ

การทดสอบนี้รวมถึง

  • บันทึกเวลาที่ใช้ในการผลิตปัสสาวะ
  • สังเกตปริมาณปัสสาวะที่ผลิต
  • วัดความสามารถในการหยุดการผลิตปัสสาวะ

เพื่อการทดสอบที่แม่นยำ ผู้เชี่ยวชาญจะใช้วิธีดังต่อไปนี้

  • ใช้การส่องดูการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ
  • ตรวจสอบความดันภายในกระเพาะปัสสาวะ
  • ติดเซ็นเซอร์เพื่อวัดการทำงานของกล้ามเนื้อและประสาท

ผู้ป่วยอาจจะต้องหยุดยาบางประเภท หรืออาจจะต้องมาตรวจด้วยปัสสาวะที่เต็มในกระเพาะปัสสาวะในการทดสอบ

การรักษา

การรักษาจะขึ้นอยู่กับต้นเหตุของอาการ

หากผู้ป่วยเป็นเบาหวาน ต้องรักษาอาการน้ำตาลในเลือดสูงให้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้ก่อน

สำหรับผู้ที่ติดเชื้อแบคทีเรียในไต ต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ และยาแก้ปวดก่อน

ถ้าเป็นกรณีกระเพาะปัสสาวะไว จะใช้ยาที่ชื่อ anticholinergic เพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อผนังกระเพาะปัสสาวะกระตุก

และการรักษาอีกประเภทหนึ่ง ที่กำลังได้รับความนิยม ปลอดภัยและได้ผลดี คือการใช้สมุนไพรเพื่อรักษาโรค สมุนไพรจะเข้าไปลดการปัสสาวะบ่อยลง และเข้าไปดูแล ฟื้นฟูอวัยวะที่เป็นต้นเหตุของอาการปัสสาวะบ่อย เช่น เบาหวาน, ไต, ต่อมลูกหมากโต, กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และยังดูแล บำรุงสุขภาพโดยรวมอีกด้วย

การป้องกัน

การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสมดุล การใช้ชีวิตที่ไม่อยู่ในความเสี่ยง และมีตัวช่วยที่ดีอย่างสมุนไพรเพื่อสุขภาพ จะสามารถช่วยลดการปัสสาวะบ่อยลงได้

การจำกัดปริมาณคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ การจำกัดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ให้น้อยลงหรืองดไปเลย 

ลดอาหารที่เป็นยาขับปัสสาวะ เช่น ช็อคโกแลต, อาหารรสเผ็ดและสารให้ความหวานเทียม

กินอาหารที่มีเส้นใยสูง จะช่วยลดอาการท้องผูก ซึ่งการที่ท้องผูกจะไปดันกระเพาะปัสสาวะ และบีบท่อปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะขัด

ถ้าหากไม่มีเวลาดูแลตัวเอง หรืออยากหาตัวช่วยดูแลสุขภาพ แนะนำให้หาสมุนไพรธรรมชาติมาดื่ม อย่างยาน้ำสมุนไพรธนทร ที่มีสมุนไพรธรรมชาติกว่า 100 ชนิด สกัดด้วยวิธี spray dry มีสมุนไพรที่ช่วยดูแลอวัยวะที่เกี่ยวกับการปัสสาวะ เช่น กระเพาะปัสสาวะ, ไต ลดอาการของโรคเบาหวาน ต่อมลูกหมากโต และที่สำคัญช่วยลดอาการปัสสาวะบ่อยที่บั่นทอนสุขภาพ และรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของคุณอย่างได้ผล

สมุนไพรแก้ปัสสาวะบ่อย

หากคุณกำลังหาสมุนไพรที่แก้ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน หรือสมุนไพรที่แก้ฉี่บ่อย ในบรรดาสมุนไพรทั้งไทยและจีน ก็มีสมุนไพรที่มีสรรพคุณที่ช่วยบรรเทา และแก้อาการฉี่ขัดได้เป็นอย่างดีอยู่หลายตัว เช่น

แต่ถ้าหากไม่อยากวุ่นวายในการหาสมุนไพร และไม่มีความรู้ในการใช้สมุนไพร ไม่อยากเสียเวลามาปรุงยา เราแนะนำให้คุณมาดื่มยาน้ำสมุนไพรธนทร ซึ่งมีสมุนไพรดังที่กล่าวมาแล้ว และมีสมุนไพรที่ช่วยในเรื่องอื่นของร่างกายอีกมากกว่า 50 ชนิด และผ่านการขึ้นทะเบียนเป็นยา จาก อย. เรียบร้อยแล้ว จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า และปลอดภัยกว่า

สมุนไพรแก้ฉี่บ่อย,สมุนไพรแก้อาการปัสสาวะบ่อย,สมุนไพรปัสสาวะบ่อย,ยาแก้ปัสสาวะบ่อย
สมุนไพรแก้ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน,แก้ปัสสาวะขัด,สมุนไพรแก้ปัสสาวะบ่อย
** ผลในการรักษา ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล **
สมุนไพรแก้ปัสสาวะบ่อยกลางคืน,สมุนไพรแก้อาการปัสสาวะบ่อย,สมุนไพรปัสสาวะบ่อย
ปรึกษาปัญหาสุขภาพฟรี และรับส่วนลด 30% ผ่านทาง Line@ คลิกเลย
Hotline โทร 095-8453520 สายสุขภาพ เบอร์เดียวจบทุกปัญหาสุขภาพ

แนะนำบทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า